โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศคณะ
(Faculty Information System : FIS) สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
|
||
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา | ||
1. Requirement | ||
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตศรีราชา ได้ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัย เพื่อให้เกิดระบบสารสนเทศ
และฐานข้อมูลการปฏิบัติงานตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การเรียนการสอน
การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลรวมของการดำเนินงานตามพันธกิจในแต่ละด้านเกิดจากการทำงานของบุคลากรในทุกระดับ
และมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน การรวบรวมผลการดำเนินงานทุกด้านเข้าไว้ในระบบสารสนเทศคณะ
จะก่อให้เกิดผลดีในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอด จนการนำเสนอข้อมูล
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากความร่วมมือในการดำเนินงานออกแบบระบบสาสนเทศ ของคณะผู้วิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
||
2. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการของคณะ (FIS : Faculty Information System) | ||
ระบบสารสนเทศคณะ เพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการรายงานผลการดำเนินงานของคณะ เช่น การจัดทำรายงานประจำปี รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษา รายงานผลตามตัวชี้วัด กพร. การบริหารจัดการของหน่วยงาน และประกอบผลการดำเนินงานของบุคลากรแต่ละคน | ||
ระบบสารสนเทศแผนงานโครงการ เพื่อใช้ในการบริหารแผนงาน โครงการคณะ ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปัจจัยนำเข้า (Input) ติดตามกิจกรรมในแต่ละเดือนและการรายงานผล (Monitor process) และ ตรวจสอบผลผลิตหรือผลที่ได้จากโครงการ(output) | ||
ระบบจองห้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอใช้ห้องต่างๆ และเก็บเป็นฐานข้อมูล | ||
ระบบการประเมินผลการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้ประเมินการสอนของอาจารย์ | ||
3. ลักษณะการทำงานของระบบ | ||
ระบบสารสนเทศคณะ (FIS : Faculty
Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ทำงานในลักษณะ Web-Based Application
โดยทำงานบนพื้นฐาน การทำงานร่วมกัน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในแต่ละด้าน
และบุคลากรทุกคนภายในองค์กรระดับคณะ มีการดำเนินงาน ใน 2 ระบบ คือ การบันทึกข้อมูล
และการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศได้แก่
|
||
4. ส่วนประกอบการทำงานของระบบ | ||
เป็นการพัฒนาการทำงานของระบบสารสนเทศคณะ (FIS : Faculty Information System) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในส่วนของการบันทึกข้อมูล และการประมวลผลได้แบ่งการทำงานออกเป็น 6 ส่วนตามความรับผิดชอบในการทำงานคือ Part 1 Data Management สำหรับการจัดการฐานข้อมูล และการกำหนดผู้ใช้งานให้กับระบบ มีผู้ดูแลระบบเป็นผู้รับผิดชอบ Part 2 Public Information เป็นส่วนการแสดงผลสารสนเทศ และประมวลผลข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลในระบบ เพื่อให้ได้สารสนเทศทั้งในส่วนที่เป็นรายละเอียด (Detail Information ) สารสนเทศส่วนที่เป็นผลสรุป (Summary Information) ในระดับมหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานในระบบคือ บุคคลทั่วไป Part 3 Faculty Login แบ่งส่วนการบันทึกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ส่วนการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ที่ได้รับมอบหมาย และแต่งตั้งจากคณะ ใช้บันทึกผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของคณะ เช่น ผลงานวิชาการ กิจกรรม งานวิจัย เป็นต้น 2) ส่วนการบันทึกของกลุ่มงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานบัณฑิต เป็นต้น ผู้ใช้งานคือ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลที่ได้รับสิทธิในการใช้งาน Part 4 Personnel Login เป็นส่วนที่บุคลากรทุกคนใช้ตรวจสอบข้อมูลผลการดำเนินงานด้วยตนเอง และใช้บันทึกข้อมูลภาระหน้าที่ และอื่นๆที่จำเป็น เข้าในฐานข้อมูลร่วมกับการบันทึกข้อมูลของ Part 3 ผู้ใช้งานคือ บุคลากรทุกคนที่ได้รับสิทธิในการใช้งาน Part 5 Executive Information เป็นส่วนแสดงผลการประมวลผลข้อมูลซึ่งเป็น สารสนเทศกรณีเฉพาะ (Exception Information) สำหรับผู้บริหารเพื่อใช้เป็นสารสนเทศประกอบในการตัดสินใจในด้านต่างๆ และใช้ในการวางแผน ของมหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานคือผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย หรือ ได้รับมอบหมาย (ไม่ได้ทำ เนื่องจากทุกคณะของมหาวิทยาลัยไม่ได้นำระบบนี้ไปใช้ทั้งหมด) Part 6 Faculty Information เป็นส่วนแสดงผลที่ได้รวบรวมสารสนเทศทั้งหมด
และแสดงสารสนเทศเฉพาะคณะที่ Login เข้าไปในระบบ สำหรับผู้บริหารคณะ ใช้เป็นสารสนเทศประกอบในการตัดสินใจด้านการบริหารงานและ
การวางแผนของคณะ ผู้ใช้งานคือผู้บริหารระดับคณะหรือได้รับมอบหมาย |
||
5. Architecture | ||
ระบบสารสนเทศคณะ (FIS) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราช ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบ Client/Server ซึ่งเครื่องแม่ข่าย (Server) ติดตั้ง ณ วิทยาเขตศรีราชา ชื่อ URL : http://158.108.102.12/ และ ผู้ใช้ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Client) ที่อยู่ในระบบเครือข่าย Intranet ของมหาวิทยาลัย กระจายอยู่ในคณะต่างๆ หรือ ทำงานผ่านระบบ Internet ด้วย Modem ติดต่อ มายังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ดังนั้นผู้ใช้งานทุกคนจึงต้องสามารถทำงานภายใต้ระบบเครือข่าย Internet หรือ Intranet ส่วนผู้ดูแลระบบจะทำงานผ่านทาง Internet (Remote Access) เพื่อ จัดการ และ บำรุงรักษาระบบ | ||
![]() |
||
|